Comments system

[blogger][disqus][facebook]

วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553

รังสี คือ อะไร หว่า

  สมัยที่ผมเรียนมหาวิทยาลัย น่าจะตอนปี 3 มั้ง จำได้ว่าเป็นชั่วโมงเรียน Dosimetry ก็วิชาเกี่ยวกับการคำนวนปริมาณรังสีนั่นแหล่ะครับ อาจารย์พิเศษที่มาบรรยายวันนั้น เป็น อ.ไพฑูร ท้าวสกุล ผู้ที่ทุกวันนี้ผมยังสงสัยว่าแกเป็นญาติของ มอริส เค หรือปล่าว ก็หน้าตาคล้ายกันซะขนาดนั้น เอาหล่ะก่อนที่นรกจะกินหัวผมเนื่องจากเอาครูบาอาจารย์มาล้อเล่น มาเข้าเรื่องกันต่อ คือหลังจากที่พวกลูกศิษย์ทักทาย และแนะนำตัวเองตามธรรมเนียม อาจารย์แกก็ทำหน้ายิ้มๆแล้วถามพวกผมแบบทีเล่นทีจริงว่า เรียนกันมาตั้ง
สองสามปีพวกเธอรู้หรือยังว่า "รังสี คือ อะไร"  โอ้ว............. พระเจ้า จ๊อด ผมรู้สึกเหมือนโดน RPG ยิงเข้าใส่กลางหัวสมอง มันเป็นคำถามง่ายๆ แต่การหาคำจำกัดความให้กับมันนี่สิ เอาไงดีหว่า ผมพยามรวบรวมความรู้ที่กระจัดกระจายไปทั่วของผม เอามาประมวลผลเพื่อให้ได้คำตอบที่ดูดี และคิดว่าไม่อุบาทว์หูสำหรับอาจารย์และเพื่อนร่วม class จากนั้นก็ใช้ความหน้าด้านตอบอาจารย์ไปทั้งๆที่ยังไม่มั่นใจสักเท่าไหร่ ซึ่งก็เป็นไปตามคาด คือ ผิดแบบไม่ต้องลุ้น เฮ่อ ผมเริ่มมองดูเพื่อนๆที่คิดว่าพอจะเป็นตัวความหวังให้กับพวกเรา หลายๆคนก็พยามยามตอบ ตรงบ้าง ไม่ตรงบ้าง อาจารย์พยามยามรวบรวมคำตอบของพวกผม แล้วรวบรวมประเด็นต่างๆจนพวกผมเริ่มมองเห็นแสงสว่างเล็กๆจากปลายอุโมงค์ รู้สึกว่าพวกเราจะใช้เวลาถกเถียงกันเพราะเรื่องนี้นานพอสมควร ซึ่งมันก็เป็นเรื่องดีสำหรับคนขี้เกียจเรียนอย่างผม โดยเฉพาะวิชาที่มีแนวโน้มจะทำให้อาการง่วงนอนของผมมันกำเริบ
  ส่วนคำเฉลยนั้นผมคงไม่ต้องบอกพวกท่านหรอกครับ ส่วนใหญ่ก็ท่องกันจนขึ้นใจ(เพื่อจะไปสอบ)อยู่แล้ว ที่ผมต้องการชี้ให้เห็นคือกระบวนการศึกษาด้านรังสีเทคนิคของบ้านเรา ที่ยังคงอยู่กับวัฒนธรรมเดิมๆ อาจารย์สอน นัักเรียนจำ(หรือไม่จำ) แล้วก็จบ แต่พอมาถึงการเชื่อมโยงเพื่อแก้ปัญหา เรากลับทำได้ไม่ดีนัก ผมเองไม่โทษใครหรอก ที่จริงเป็นหน้าที่ของนักเรียนที่ต้องค้นคว้าหาความรู้ใส่ตัว ไม่ใช่นั่งรอความรู้อย่างเดียว แต่เรื่องนี้มันนานมากแล้วหล่ะครับ สมัยนี้คงไม่มีแล้วล่ะมั๊ง
 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น