วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
ความท้าทายใหม่กับระบบ CR
หลังจากพยายามมานาน ในที่สุดผมก็ได้ใช้งานระบบ CR กะเขาซักที อาจจะช้าไปบ้างแต่ก็ถือว่ายังดีกว่าไม่ได้ใช้ เนื่องจากต้องทนกับระบบการล้างฟิล์มด้วยน้ำยามาหลายปี จนเป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง สายตาก็เริ่มมีปัญหา ถึงแม้ว่าเราจะป้องกันตัวเองอย่างไร ในระยะยาวเราก็ต้องได้รับผลข้างเคียงจากน้ำยาล้างฟิล์มอยู่ดี
ระบบ CR มันดีตรงที่เราไม่ต้องไปเลี่ยนหรือดัดแปลงเครื่องเอกซเรย์(ซึ่งมันก็เก่าแล้ว) เราเปลี่ยนที่ระบบการสร้างภาพ จากเดิมที่เราต้องเอาฟิล์มไปล้างในห้องมืด แล้วได้แผ่นฟิล์มออกมา แต่ในระบบ CR เราใช้ Image plate เป็นตัวรับภาพแทนคาสเซท แล้วจึงนำ Image plate ไปเสียบเข้าเครื่อง CR แล้วไอ้เจ้าเครื่อง CR นี้มันก็จะแปลงภาพมาเป็นไฟล์ติจิตอล แสดงบนหน้าจอ ซึ่งไฟล์เหล่านี้เราสามารถส่งต่อให้แพทย์ดูได้ทางระบบ Network ของโรงพยาบาล หรือจะดูผ่าน Internet ก็ได้
นับเป็นสิ่งท้าทายสำหรับนักรังสีเทคนิค ที่จะต้องปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยี่สมัยใหม่ และต้องควบคุมคุณภาพของภาพรังสีให้ได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ ยอมรับว่าตอนแรกผมต้องปรับตัวเรียนรู้อยู่พอสมควร กว่าจะเริ่มเข้าที่เข้าทาง มีปัญหา อุปสรรคอยู่พอสมควรเดี๋ยววันหลังผมจะมาเล่าต่อนะครับ วันนี้แค่นี้ก่อนครับ งานเข้าล่ะ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น