Comments system

[blogger][disqus][facebook]

วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การควบคุมคุณภาพ : ทฤษฎี vs ปฏิบัติ

     ทุกวันนี้เราคงหนีไม่พ้นเรื่องของการควบคุมคุณภาพงานด้านรังสีเทคนิค ไม่ว่าเราจะเต็มใจทำหรือไม่ก็ตาม เราก็ต้องทำมันอยู่ดี สำหรับข้อกำหนด เงื่อนไข วิธีการ ผมว่าทุกท่านย่อมทราบกันเป็นอย่างดี แต่ปัญหามันอยู่ตอนปฏิบัติอ่ะดิ อย่าบอกนะว่าคุณไม่เคยลักไก่เลยซักครั้ง ถ้าเป็นเช่นนั้นผมต้องขอขอบคุณมากๆที่ท่านได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง และขอเป็นกำลังใจให้ท่านทำมันต่อไปครับผม ส่วนตัวกระผมเองขอสารภาพตามตรงว่าเคยลักไก่เหมือนกัน คือบางวันก็ไม่ได้ warm up หลอดเอกซเรย์ แต่ยังติ๊กในตาราง
การดูแลรักษาเครื่องเอกซเรย์อย่างหน้าตาเฉย แหะๆๆ ก็มันไม่เห็นจะต่างกันตรงไหนนี่หว่า ระหว่าง warm กับไม่ warm หลอดเอกซเรย์ ยังไงก็ถ่ายภาพได้เหมือนกัน (อันนี้เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีเอามากๆ อย่าทำตามบ่อยเกินไปนะครับ เดี๋ยวหลอดจะเสื่อม หรือไม่วงจรภายในอาจจะเจ๊งได้นะครับ) โดยเฉพาะช่วงไหนที่บอลเตะถี่ๆ แทบไม่ต้องพูดถึง แค่ถ่างตาทำงานก็จะไม่ไหวอยู่แล้ว จะให้ตูไป warm อะไรอีกฟะเนี่ย ครับไอ้ตัวขี้เกียจนี่แหล่ะเหตุผลสำคัญเลยทีเดียวเชียว

     ถ้าจะว่ากันไปแล้วมันต้องทำตามมาตรฐานทุกขั้นตอนนั่นแหล่ะ เพราะมันทำให้เราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มั่นใจ และได้ประโยชน์สูงสุด แต่บางทีเราก็เอาความขี้เกียจ และประสบการณ์ส่วนตัวมาใช้ตัดสินเอาเองว่ามันคงไม่เป็นไรมั้ง แบบกรณีของผมที่บอกมาแล้ว ที่จริงมันก็ไม่ได้มีอะไรมากมายนักหรอก ก็แค่ทำไปตามแผนงานที่วางไว้ก็สิ้นเรื่อง แต่ก็เห็นใจเพื่อนร่วมงานที่งานประจำก็หนักมากอยู่แล้ว ยังมีงานคุณภาพเข้ามาอีก แต่ถ้าร่วมมือกันมันก็คงไม่หนักเกินไป(ไอ้การทำให้ร่วมมือกันทำงานนี่แหล่ะที่ผมปวดหัวอยู่ตอนนี้) สำคัญคือทุกคนต้องรู้หน้าที่และทำตามหน้าที่ของตนเอง นะจ๊ะ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น